Woman Shape :  Unisense  Thailand
Woman Shape02 : Unisense Thailan d
 

 



 



คำกล่าวนั้น เหมือนจะง่าย แต่ที่จริงแล้วไม่ง่ายเลย เพราะสำหรับคนบางกลุ่ม  บางคนวิธีที่ใครๆ ว่าดีก็ทำมาหมดแล้วแต่ไม่เห็นได้ผลเลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่น้ำหนักเกินมากๆ  ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีปัญหาโรคข้อเสื่อมด้วยแล้ว การออกกำลังกายเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยาก


 
 









ปัจจจุบัน ปัญหาเรื่องความอ้วนถือเป็นปัญหา
ทางสาธารณสุข
ระดับโลก ที่ องค์การอนามัยโลก ให้ความสำคัญเพราะมีผู้ที่น้ำหนักเกิน หรือ อ้วนเิพิ่ม มากขึ้นทุกวัน นอกจาก ความอ้วน จะมีผล กระทบต่อ สุขภาพร่างกาย (เพิ่มความ เสี่ยง ในการเกิด โรคต่างๆ) คนอ้วน ยังมีปัญหา ทางด้านจิตใจ อีกด้วย (เป็นปมด้อย ขาดความมั่นใจ) และ ประสบปัญหาด้้านสังคม อีกด้วย เช่นข้อจำกัดในบางสาขาอาชีพ
 


การประเมินความอ้วน

เกณฑ์มาตรฐานง่ายๆ ในการวัด/ประเมินว่าเราน้ำหนักเกิน / อ้วนหรือไม่  เกณฑ์การประเมินมีทั้งค่าดัชนีมวลกาย การวัดรอบเอว หรือการหาอัตราส่วนเอว-สะโพก

 

 
ค่า BMI
ภาวะ (น้ำหนัก)
<18.0
ต่ำกว่าเกณฑ์  สุขภาพไม่สมบูรณ์
18.0 - 22.9
ปกติ
23.0 – 24.9
น้ำหนักเกินเล็กน้อย
25.0 – 29.9
น้ำหนักเกินมาก
30.0 – 39.9
อ้วน
40.0 – 49.9
อ้วน-มาก
50.0 – 59.9
อ้วน-รุนแรง
60.0<
อ้วน-อันตรายมาก


ค่ามาตรฐานสำหรับชาวเอเชีย มีดังนี้

 
เพศ
อ้วนเมื่อ
หญิง
รอบเอว > 80 เซนติเมตร (32 นิ้ว)
ชาย
รอบเอว > 90 เซนติเมตร (36 นิ้ว)

 

 
 

คือ อัตราส่วนระหว่างรอบเอว(ส่วนที่แคบที่สุด) ต่อรอบสะโพก(ส่วนที่กว้างที่สุด)

 
เพศ
อ้วนเมื่อ
หญิง
WHR > 0.8
ชาย
WHR > 1.0

หากคุณเป็นผู้หญิงที่มีค่า BMI เกิน 30 และมี WHR เกิน 0.8  แสดงว่าคุณอ้วน และจำเป็นต้องดูแลเรื่องน้ำหนักตัวโดยด่วน

อย่างไรก็ตาม การประเมินความอ้วนด้วยการเทียบส่วนสูงกับน้ำหนักตัวนั้นไม่ถูกต้อง แต่ค่าที่ได้จากการเช็คองค์ประกอบของร่างกาย และเปอร์เซนต์ของไขมันสะสมในร่างกายเป็นตัวกำหนด/ชี้ ความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพ หรือโรคต่าง ๆ



 










โรคอ้วน
หมายถึง ภาวะ ที่มีการสะสม ของไขมัน ส่วนเกิน จนเป็น อันตราย ต่อสุขภาพ


 

1. อ้วนจากกรรมพันธุ์
กรรมพันธุ์ และ สิ่งแวดล้อม มีผลอย่างมากต่อความอ้วน เช่น นิสัยการบริโภค ลักษณะกิจกรรม พื้นฐานทางวัฒนธรรม อธิบายง่ายๆ คือ หากคุณอยู่ในกลุ่ม ที่รับประทานอาหารจุ (ปริมาณมาก) และ จุบจิบ

2. อ้วนจากการรับพลังงาน มากเกิน ความต้องการของร่างกาย
การรับประทานอาหาร จำนวนมาก หรือ จุบจิบ หรือ การรับประทานอาหาร ที่ให้พลังงานสูง โดยที่ไม่สมดุลกับ พลังงานที่ร่างกายใช้ (เผาผลาญ) เป็นสาเหตุ ให้ีมีการสะสมของพลังงาน ส่วนเกิน ในรูปแบบของ ไขมันสะสม

3.วิถีการดำรงชีวิต
การรับประทานอาหารที่มีพลังงานสูงเกินกว่าอัตราการเผาผลาญ รวมทั้งวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป  ความสะดวก สบายที่มีมากขึ้น  อุปกรณ์อำนวยความสะดวกสารพัดชนิด  การนั่งทำงานอยู่กับที่  และขาดการออกกำลังกาย / กิจกรรมที่ช่วยเผาผลาญพลังงาน  ความเคยชินเหล่านี้เป็นปัจจัยทำให้คนยุคใหม่อ้วน/น้ำหนักเกินได้ง่าย

พบว่าผู้หญิงในสมัยก่อน(ประมาณ 50 ปีที่แล้ว) แม้จะบริโภคอาหารปริมาณมากกว่าที่เราบริโภคกันในปัจจุบัน แต่พบว่าเธอเหล่านั้นมีรูปร่างเล็กกว่า น้ำหนักตัวเบากว่า  นี่เป็นเพราะวิถีการดำรงชีวิต  คนในสมัยก่อนมีกิจกรรมในแต่ละวันสูงกว่า และมีความสะดวกสบายน้อยกว่าปัจจุบัน ทำให้มีอัตราการเผาผลาญพลังงานสูงกว่า

4. ผลจากโรคต่างๆ
เช่น โรคทางระบบต่อมไร้ท่อบางอย่าง หรือ ยาบางอย่างที่ทำให้น้ำหนักตัว เพิ่ม เช่น ยาคุมกำเนิด ยารักษาโรคเบาหวาน ยากลุ่มเสตียรอยด์ ยารักษา อาการซึมเศร้า











 


ปัญหาเรื่องน้ำหนักตัวและความอ้วนถือเป็นปัญหาทางสาธารณสุขระดับโลกที่องค์การอนามัยโลกให้ความสำคัญ ในการให้ข้อมูลและสร้างความเข้าใจแก่ประชากร  ความอ้วนนำพามาซึ่งภาวะเสี่ยงต่อโรคต่างๆ มากมาย เช่น โรคเบาหวาน ชนิดที่ 2, โรคหลอดเลือดหัวใจ, ความดันโลหิตสูง, อัมพฤกษ์ อัมพาต, มะเร็งบางประเภท   ซึ่งรายละเอียดของโรคร้ายต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์ต่อความอ้วน มีดังนี้ :

1. ภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน                  
หากน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นตั้งแต่ 5 – 8 กิโลกรัม  เรามีอัตราเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2  เป็น 2 เท่าของผู้ที่รักษาระดับน้ำหนักตัวให้คงที่

2. โรคความดันโลหิตสูง
พบว่าผู้ใหญ่ที่อ้วน หรือมีน้ำหนักตัวเกินมีความเสี่ยงในการเป็นโรคความดันโลหิตสูงเป็น 2 เท่าของคนที่มีน้ำหนักปกติ  ความอ้วนมีความสัมพันธ์กับการมีระดับไตรกลีเซอไรด์สูง และระดับ HDL ต่ำ

3. ภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ
หลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบ หรือเลือดแข็งตัวง่าย จึงเกิดโรคหัวใจได้ง่าย   ผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกินหรืออ้วน ที่มีอาการเจ็บหน้าอก เสี่ยงต่อหัวใจวายเฉียบพลัน

4. ภาวะเสี่ยงต่อการเป็นอัมพาต จากโรคหลอดเลือดตีบ
โรคหลอดเลือดตีบ เลือดแข็งตัวง่าย ทำให้ลิ่มเลือดหรือไขมันอุดหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง ทำให้เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาตได้

5. ภาวะเสี่ยงต่อระบบทางเดินหายใจ    
การทำงานของปอดจะลดลง ทำให้มีคาร์บอนไดออกไซด์คั่งในปอด  ในคนที่อ้วนมากๆ ทำให้เหนื่อยง่าย ง่วงนอนอยู่ตลอด และอาจหยุดหายใจชั่วขณะ  อาจเกี่ยวเนื่องกับอาการหอบหืดที่รุนแรงขึ้นในบางราย และเป็นอันตรายหากเกิดอาการขณะทำงาน(ใช้เครื่องจักร)หรือขับรถ

6. ภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคข้อเสื่อม 
                   
เมื่อน้ำหนักเกิน / อ้วน  ข้อต้องรับน้ำหนักมากเกินไปทำให้ข้อเสื่อม เกิดอาการปวดข้อ

7. ระดับฮอร์โมนผิดปกติ
ผู้หญิงที่มีน้ำหนักตัวเกิน / อ้วน  มีแนวโน้มที่ประจำเดือนจะผิดปกติ ไม่สม่ำเสมอ และมีภาวะมีบุตรยาก  ความอ้วนมีความสัมพันธ์กับฮอร์โมน และความไม่สมดุลของฮอร์โมนทำให้น้ำหนักเกิน/อ้วนได้

8. ภาวะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งบางชนิดสูงขึ้น

  หญิง

โอกาสการเกิดมะเร็งในมดลูก รังไข่ และเต้านมสูงขึ้น
ผู้หญิงที่มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น 10 กิโลกรัมขึ้นไปเมื่ออายุมากขึ้น (เทียบกับน้ำหนักช่วงวัยรุ่น)
มีภาวะเสี่ยงในการเป็นมะเร็งสูงกว่าผู้ที่มีน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ปกติ หรือน้ำหนักคงที่

 
  ชาย โอกาสการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ และต่อมลูกหมากสูงขึ้น


 

 

     
 
 
 
Copyright All Rights Reserved 2006 UNISENSE™ Thailand ( Premiere Slimming Co.,Ltd)
Developed and Designed by CaptusCom.com